ความหมายของการเขียน
การเขียน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
และความต้องการของบุคคลออกมาเป็นสัญลักษณ์ คือตัวอักษร
เพื่อแสดงความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ
จากความข้างต้นทำให้มองเห็นความหมายของการเขียนว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสื่อสารในชีวิตปะจำวัน
เช่น นักเรียนใช้การเขียนบันทึกความรู้ ทำแบบฝึกหัดและตอบข้อสอบ โฆษณาสินค้า
ทำบัญชี ใบสั่งของ ทำใบเสร็จรับเงิน และอื่นๆ
ลักษณะของผู้เรียน
ผู้เขียนนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดของผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น
ดังนั้นจึงกล่าวถึงลักษณะของผู้เขียนได้ดังนี้
๑.
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ
๒. มีความรอบรู้
เพราะความรู้เปรียบเสมือนวัตถุดิบ
๓. เลือกเนื้อหาและใช้ภาษาได้ถูกต้อง
เหมาะสมตามหลักการใช้ภาษา
๔.
หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่จะทำให้ผู้อื่นหรือตัวเองเดือดร้อน
๕. ลักษณะท่าทาง
ผู้เขียนนอกจากมีความคิด ความรู้ และความสามารถ บุคลิกลักษณะ ท่าทางในการนั่ง
การวางมือ การจับปากกาดินสอ
ผู้เขียนต้องเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสุขภาพของผู้เขียนเอง
๖. ลายมือของผู้เขียน เขียนให้ถูกต้อง
เป็นระเบียบ สะอาดและชัดเจน
๗. จรรยาบรรณผู้เขียน หมายถึง มารยาท
เช่น
การมห้เกียรติบัตรนักเขียนโดยลงชื่อเจ้าของผลงานที่เราลอกหรือเอาแนวความคิดของเขามาทุกครั้ง
จุดประสงค์ของการเขียน
๑. การเขียนทั่วไปมีจุดประสงค์ดังนี้
๒. เพื่อบอกเล่าเรื่องราว เช่น
เหตุการณ์ ประสบการณ์ ประวัติ ฯลฯ
๓. เพื่ออธิบายความหรือคำ เช่น
การออกกำลังกาย การทำอาหาร คำนิยามต่างๆ ฯลฯ
๔. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้า
ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ ฯลฯ
๕. เพื่อปลุกใจ เช่น บทความ สารคดี เพลงปลุกใจ ฯลฯ
๖. เพื่อแสดงความคิดเห็น
๗. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น
นิยาย นวยาย ฯลฯ
๘. เพื่อล้อเลียน เช่น บทความการเมือง
เศรษฐกิจ ฯลฯ
๙. เพื่อประกาศแจ้งให้ทราบ เช่น
ประกาศของทางราชการ ประกาศรับสมัครงาน ฯลฯ
๑๐. เพื่อวิเคราะห์ เช่น
การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์บ้านเมือง วิเคราะห์วรรณกรรม ฯลฯ
๑๑. เพื่อวิจารณ์ เช่น
วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์หนังสือ ฯลฯ
๑๒.
เพื่อเสนอข่าวสารและเหตุการณ์ที่น่าสนใจ
๑๓. เพื่อกิจธุระต่างๆ เช่น จดหมาย
ธนาณัติ การกรอกแบบรายการ ฯลฯ
หลักของการเขียนที่ดี
เนื่องจากหลักการเขียนเป็นทักษะที่ต้องเอาใจใส่ฝึกฝนอย่างจริงจัง
เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญ และป้องกันความผิดพลาด
ดังนั้นผู้เขียนจึงจำเป็นต้องใช้หลักในการเขียนดังต่อไปนี้
๑. ความถูกต้อง คือ ข้อมูลถูกต้อง
ใช้ภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ
๒. มีความชัดเจน
คือใช้คำที่มีความหมายชัดเจน รวมถึงประโยคและถ้อยคำสำนวน
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ตรงตามจุดประสงค์
๓. มีความกระชับและเรียบง่าย
คือรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำธรรมดาเข้าใจง่ายไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อให้ได้ใจความชัดเจน
กระชับ ไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย
๔. มีความประทับใจ
โดยการใช้คำให้เกิดภาพพจน์อารมณ์และความรู้สึกประทับใจ มีความหมายลึกซึ้งกินใจ
ชวนให้ติดตามอ่าน
๕. มีความไพเราะทางภาษา คือ
ใช้ภาษาสุภาพ มีความประณีตทั้งสำนวนภาษาและลักษณะเนื้อหา อ่านแล้วไม่รู้สึกขัดเขิน
๖. มีความรับผิดชอบ
คือต้องแสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล
มุ่งให้เกิดความรู้และทัศนคติอันเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
นอกจากหลักการเขียนที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว
สิ่งที่มีความจำเป็นอีกประการหนึ่ง คือ กระบวนการคิดกับกระบวนการเขียนที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปกับหลักการเขียน
เพื่อที่จะทำให้สามารถเขียนได้ดียิ่งขึ้น
การคัดลายมือ
การคัดลายมือ
เป็นการฝึกเขียนตัวอักษรไทยให้ถูกต้องตามหลักการเขียน
และเพื่อให้ลายมือสวยงาม หลักการเขียนตัวอักษรไทยจะเริ่มเขียนจากหัวอักษร
ความสูงและความกว้างของตัวอักษรต้องเสมอกัน การวางพยัญชนะ นระ และวรรณยุกต์
ต้องวางให้ถูกที่ มีช่องไฟและวรรคตอนที่เหมาะสมเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้อง
การคัดลายมือมี ๓ ลักษณะ คือ
๑. การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
นักเรียนช้ะนประถมศึกษาปีที่ ๑ และ ๒ ควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
เนื่องจากเป็นช่วงเทศกล้ามเนื้อมือและการประสานระหว่างตากับมือยังพัฒนาไม่เต็มที่
๒. การคัดลายมือตัวบรรจงรึ่งบรรทัด
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ และ ๔ จะมีการประสานระหว่างกล้ามเนื้อมือและตาเพิ่มมากขึ้น
จึงควรฝึกคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัดแต่ขณะเดียวกันก็ยังต้องฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดด้วย
๓. การคัดลายมือแกมบรรจง
เป็นการคัดลายมือแบบหวัดแต่ให้อ่านออก
การเขียนลายมือหวัดแกมบรรจงเป็นการเขียนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ซึ่งผู้เขียนจะต้องเขียนให้อ่านง่าย มีช่องไฟ เว้นวรรคตอนถูกต้อง
และเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ และ ๖
ควรหัดคัดลายมือหวัดแกมบรรจง โดยคัดให้รวดเร็ว สวยงาม ถูกต้อง และน่าอ่าน
โดยมีการฝึกคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัดเป็นครั้งคราว
การเขียนคำขวัญ
คำขวัญ คือ
คำพูดที่กล่าวให้เป็นข้อคิดหรือแนวทางปฏิบัติเนื่องในกรณีใดกรณีหนึ่ง
หรือโอกาสใดโอกาสหนึ่ง เป็นข้อเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่การงานและความประพฤติต่างๆ
หลักการใช้ภาษาในการเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญให้น่าสนใจควรคำนึงในประเด็นต่อไปนี้
๑. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด
มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน ๑๖ คำ
แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ ๑ – ๔ วรรค
๒. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย
แสดงความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเด่นชัด หรือมีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว
เพื่อให้จำง่าย
๓. จัดแบ่งจังหวะคำสม่ำเสมอ
๔. เล่นคำทั้งเสียงสัมผัสและการซ้ำคำ
ช่วยให้เข้าใจง่าย
๕. เป็นคำตักเตือนให้ปฏิบัติในทางที่ดี
การเขียนคำอวยพร
อวยพร หมายถึง
การให้พร การเขียนคำอวยพรให้กับบุคลต่างๆ และต้องคำนึงโอกาส เช่น วันคล้ายวันเกิด
วันขึ้นปีใหม่ และการใช้ถ้อยคำภาให้เหมาะสมกับุคคล ดังนี้
๑.ถ้าผู้อวยพรเป็นผู้น้อยเขียนอวยพรผู้ใหญ่
จะต้องอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นผู้ให้พร
๒. ถ้าผู้อวยพรเป็นผู้ใหญ่เขียนอวยพรให้ผู้น้อย
สามารถให้พรแก่ผู้น้อยได้ด้วยตนเอง
หลักการเขียนคำอวยพร
๑.
คำนึงถึงผู้รับว่าอยู่ในสถานภาพเกี่ยวข้องกับตัวผู้เขียนอย่างไร
เพราะจะมีความสำคัญต่อการเขียนคำขึ้นตนและคำลงท้าย ผุ้รับอาจเป็นเพื่อนร่วมงาน
เพื่อนที่สนิท ผู้ใหญ่ รุ่นน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชา
คำขึ้นต้นจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสม
รวมทั้งคำลงท้ายทีผู้รับและผู้เขียนควรมีต่อกัน
๒. เนื้อหา
การเขียนคำอวยพรจำเป็นต้องเขียนให้ถูกโอกาสว่าจะเขียนในโอกาสใด เช่น
งานฉลองตำแหน่งใหม่ งานขึ้นบ้านใหม่ งานมงคล เป็นต้น
๓. การเขียนคำอวยพร ภาษาที่ใช้ควรสุภาพ
นุ่มนวล น่าฟัง ไม่ดาษดื่นจนเกินไป ไม่ใช้ศัพท์สแลงง โลดโผน หรือหยาบคาย
และไม่ใช้สำนวนต่างประเทศ
การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
เป็นการเขียนที่แสดงให้เห็นโครงเรื่องโดยรวมทั้งเรื่อง
ทำให้จับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น การเขียนแผนภาพโครงเรื่องต้องอาศัยการตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน
ว่าตัวละครในเรื่องมีใครบ้าง สถานที่เกิดเหตุการณ์คือที่ไหน
มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ผลของเหตุการณ์นั้นคืออะไร
ตัวอย่างการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
เรื่อง กากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์
อีกาตัวหนึ่งกำลังหิว มันจึงบินออกหาอาหาร
มันเหลือบไปเห็นเนื้อชิ้นหนึ่งหล่นอยู่ มันจึงใช้ปากคาบเนื้อชิ้นนั้นขึ้นมา
แล้วบินไปเกาะที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินผ่านมาเห็นอีกาคาบเนื้ออยู่ในปาก
มันอยากกินเนื้อชิ้นนั้น มันจึงเอ่ยปากทักอีกาว่า
“สวัสดีครับคุรกา
คุณช่างสง่างามอะไรอย่างนี้ ขนของคุณก็ดูสวยงามมาก” อีการู้สึกขอบใจมาก
มันมองดุขอของตัวเองอย่างภูมิใจ สุนัขจิ้งจอกจึงพูดต่อไปว่า
“คุณคงมีเสียงที่ไพเราะมาก
คุณคงร้องเพลงเพราะด้วยใช่ไหม” อีการีบผงกหัวรับ
“ถ้าอย่างนั้นคุณช่วย้องเพลงให้ผมฟังสักหน่อยเถิดครับ”
อีกาจึงอ้าปากจะร้องเพลง พอมันอ้าปาก เนื้อก็หลุดจากปากตกลงที่พื้น
สุนัขจิ้งจอกจึงรีบคาบเนื้อชิ้นนั้นแล้ววิ่งหนีไป
แผนภาพโครงเรื่องของนิทานเรื่องกากับสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์
ตัวละครในเรื่อง
: อีกา และสุนัขจิ้งจอก
สถานที่
: ต้นไม้ต้นหนึ่ง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
:
อีกาซึ่งกำลังคาบเนื้ออยู่ในปาก
หลงเชื่อคำพูดของสุนัขจิ้งจอกที่ชมว่าอีกามีเสียงไพเราะ จึงอ้าปากจะร้องเพลงให้สุนัขจิ้งจอกฟัง
ผลของเหตุการณ์
:
ทำให้ชิ้นเนื้อที่อีกาคาบมาหล่นจากปาก สุนัขจิ้งจอกจึงมาคาบเนื้อไปกินแทน
วิดีโอช่วยสอน การเขียนแผนภาพโครงเรื่อง
การเขียนย่อความ
การเขียนย่อความ คือ
การเก็บประเด็นสำคัญแต่ละตอนจากเนื้อเรื่องนำมาเรียบเรียงใหม่ให้ต่อเนื่องกัน
ดดยใช้สำนวนของผู้เขียนเอง และถูกต้องตามรูปแบบของการเขียนย่อความ
รูปแบบของการเขียนย่อความ
รูปแบบการเขียนย่อความประกอบด้วย ๒ ย่อหน้า
ซึ่งแต่ละย่อหน้าจะมีลักษณะดังนี้
ย่อหน้าที่
๑ บอกประเภทและที่มาของเรื่องที่นำมาย่อ
ย่อหน้าที่
๒ เป็นเนื้อความย่อ
หลักการเขียนย่อความ
๑. เขียนคำนำตามประเภทของเรื่อง
๒.
อ่านเรื่องทั้งหมดอย่างละเอียด อ่าน ๒ – ๓ เที่ยว เพื่อเข้าใจเรื่องให้ตลอด
๓.
ทำความเข้าใจศัพท์สำนวน โวหารในเรื่อง
๔.
ถ้าเรื่องที่จะย่อเป็นร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้วก่อนจึงย่อ
๕.
สังเกตใจความสำคัญแล้วแยกออกเป็นตอนๆ
๖.
สรรพนามบุรุษที่ ๑ , ๒ ต้องเปลี่ยนเป็นบุรุษที่ ๓ หรือเอ่ยชื่อ
๗.
ถ้าคำเดิมเป็นคำราชาศัพท์ให้คงไว้
๘.
ข้อความที่เป็นคำพูดในเครื่องหมายอัญประกาศต้องเขียนใหม่
ซึ่งเรียกว่าเปลี่ยนเลขในเป็นเลขนอก
๙.
เรื่องที่จะย่อถ้าไม่มีชื่อเรื่อง ผู้ย่อต้องตั้งชื่อเรื่องเอง
วิดีโอช่วยสอน การเขียนย่อความ
การเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ
การเขียนจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา
เป็นการเขียนเพื่อการสื่อสาร แจ้งความประสงค์ ถามทุก์สุข หรือเล่าเหตุการณ์ต่างๆ
หลักการเขขียนจดหมาย
การเขียนจดหมายควรยึดหลักสำคัญดังต่อไปนี้
๑.
ขนาดซอง การใช้ซองมาตรฐาน ปัจจุบันที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งจะมีซองจดหมายจำหน่าย
นับว่าเป็นซองที่มีขนาดเหมาะสม โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ดังนี้
๑.๑ ซองสั้น มีขนาด ๓.๕ x ๖ นิ้ว ถึง ๔.๕ x ๗ นิ้ว
๑.๒ ซองยาวมีขนาด ๔.๒๕ x ๙ นิ้ว
๒.
การจ่าหน้าซอง มีหลักการดังนี้
๒.๑ ที่อยู่ของผู้รับ
ต้องเรียงลำดับจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ได้แก่
-
ชื่อ – นามสกุล ถ้าเป็นจดหมายสำคัญ เช่น
มีธนาณัติสอดอยู่ด้วยต้องระบุคำนำหน้าชื่อผู้รับ
-
บ้านเลขที่ ซอย หรือตำบล
-
ถนนที่ตั้ง
-
ตำบลหรือแขวง
- อำเภอหรือเขต
-
จังหวัดและรหัสไปรสณีย์
๒.๒ ที่อยู่ของผู้ส่ง
เรียงลำดับเช่นเดียวกับผู้รับ จะเขียนไว้ด้านบนซ้ายของตนเอง
๒.๓ คำขึ้นต้น
-
ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว อาจใช้คำว่า “กรุณาส่ง” หรือ “นามผู้ส่ง”
-
ถ้าเป็นจดหมายราชการหรือจดหมายธุรกิจนิยมใช้ “เรียน”
-
จดหมายถึงพระสงฆ์ทั่วไปใช้ “นมัสการ”
๒.๔ แสตมป์
ต้องติดแสตมป์ตามราคาที่กรมไปรษณีย์ฯ กำหนด
เพราะถ้าติดไม่ครบผู้รับจะถูกปรับเป็นสองเท่าของราคาแสตมป์ที่ขาดไป
รูปแบบของจดหมาย
๑.
ที่อยู่ของผุ้เขียนอยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษ
โดยเริ่มเขียนจากกึ่งกลางหน้ากระดาษ
๒.
วันเดือนปี เขียนเยื้องที่อยู่ผู้เขียนมาข้างหน้าเล็กน้อย
๓.
คำขึ้นต้น อยู่ด้านซ้ายห่างจากขอบกระดาษประมาณ ๑ นิ้ว
และเป็นแนวชิดด้านซ้ายสุดของเนื้อความ
๔.
เนื้อความ เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย และควรขึ้นย่อหน้าใหม่เมื่อเนื้อความใหม่
นอกจากนี้ต้องเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องด้วย
๕.
คำลงท้ายออยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน
๖.
ชื่อผู้เขียน เยื้องลงมาทางขวามือ ถ้าเขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
ควรวงเล็บชื่อที่เขียนเป็นตัวบรรจงด้วย ถ้าเป็นจดหมายราชการต้องบอกยศตำแหน่งของผู้ส่งด้วย
ตัวอย่างจดหมายถึงผู้ปกครองและญาติ
การเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น
การเขียนแสดงความรู้สึก เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึดคิดที่มีอยู่ให้ผู้อื่นได้รับรู้โดยการเขียนซึ่งสะท้อนจากความรู้สึกที่ได้พบเห็นภาพ
เหตุการณ์ สถานที่ หรือสิ่งของต่างๆ แทนการพูดให้ผู้อื่นฟัง
การเขียนแสดงความคิดเห็น เป็นการเขียนที่ประกอบด้วยเหตุผล มีข้อมูล
มีหลักฐานที่ผู้อื่นจะเชื่อถือได้ การเขียนแสดงความคิดเห็นมีหลายรูปแบบ
บางครั้งก็เขียนออกมาในรูปของจดหมาย บทความ บันทึก บรรยาย พรรณนา ฯลฯ
การเขียนในลักษณะดังกล่าว หากเขียนเพื่อลงพิมพ์ในสื่อมวลชน
งานเขียนนั้นจะต้องได้รับการกลั่นกรองมาเป็นอย่างดี
ภาษาที่ใช้ต้องสุภาพและไม่ทำใด้ผู้อื่นไดรับความเสียหาย
หลัการเขียนแสดงความคิดเห็น
การเขียนแสดงความคิดเห็นประกอบด้วยส่วนสำคัญ
๓ ส่วน คือ
๑.
ที่มา คือ ส่วนที่เป็นเรื่องราวต่างๆ หรือ้นเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะแสดงความคิดเห็น
ที่มาของการแสดงความคิดเห็นจะช่วยให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแสดงความคิดเห็น
ส่วนนี้จะช่วยให้ผู้รัยสารเข้าใจเรื่องราว และพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นนั้น
๒.
ข้อสนับสนุน คือข้อเท็จจริง หลักการรวมทั้งข้อมูลอันเป็นความคิดเห็นของผู้อื่นที่ผู้แสดงความคิดเห็นนำมาประกอบ
เพื่อให้ความคิดเห็นของตนมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
๓.
ข้อสรุป คือสิ่งที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านยอมรับหรือนำไปปฏิบัติ
ข้อสรุปอาจเป็นข้อเสนอแนะ ข้อสันนิษฐาน หรือการประเมินค่า ที่ผู้แสดงความคิดเห็นนำเสนอ
วิธีเขียนแสดงความคิดเห็น
ในการเขียนแสดงความคิดเห็นนั้น
ผู้เขียนต้องนึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
คนจะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องที่เขียนนั้น ก็เพราะความรู้ประสบการณ์ ความเชื่อ
และค่านิยมของบุคคลนั้นๆ อย่างเช่น คนไม่เชื่อเรื่องผี
ถ้ามีผู้แสดงความคิดเห็นและพยายามที่จะให้เชื่อเรื่องผีก็ย่อมเป็นไปได้ยาก
การแสดงความคิดเห็นจึงจำเป็นต้องอาศัยวิธีการในการเขียน
เพื่อให้บุคคลเชื่อถือความคิดเห็นของเรา
วิธีการเขียนจึงต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
๑.
ประโยชน์ ความคิดเห็นที่ดีต้องมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อผู้อ่าน
ประโยชน์ที่นี้ต้องเป็นประดยชน์ต่อบุคคลส่วนใหญ่ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
๒.
ความสมเหตุสมผล ความคิดเห็นที่ดีต้องมีความสมเหตุสมผล ข้อสนับสนุนต้องมีน้ำหนัก
น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
กรณีตัวอย่างที่นำมาอ้างอิงต้องเป็นตัวแทนกรณีทั้งหมดได้อย่างแท้จริง
๓.
ความเหมาะสมกับผู้รับสารและกาลเทศะ
โดยปกติแล้วการแสดงความคิดเห็นจะต้องเขียนเพื่อให้บุคคลหรือชุมชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอ่าน
บางเรื่องอาจนำเสนอแก่สาธารณชนได้ แต่บางเรื่องก็ไม่เหมาะสมควรแสดงต่อบุคคลทั่วไป
ผู้เขียนจึงต้องพิจารณาเพื่อนำเสนอได้ถูกต้องกับกาลเทศะ